เมนู

อรรถกถาจัมเปยยนาคจริยาที่ 3


พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาจัมเปยยนาคจริยาที่ 3 ดังต่อไปนี้. บทว่า
จมฺเปยฺยโก พระยานาคชื่อว่าจัมเปยยกะ คือ แม่น้ำชื่อว่าจัมปา อยู่ใน
ระหว่างแคว้นอังคะและมคธะ. ใต้แม่น้ำนั้นแม้นาคพิภพก็ชื่อว่าจัมปา เพราะ
เกิดไม่ไกลกัน. นาคราชชื่อว่าจัมเปยยกะเกิดที่นาคพิภพนั้น. บทว่า ตทาปิ
ธมฺมิโก อาสึ
แม้ในกาลนั้นเราเป็นผู้ประพฤติธรรม คือแม้ในกาลที่เรา
เป็นนาคราชชื่อว่า จัมเปยยกะนั้นก็ได้เป็นผู้ประพฤติธรรม.
มีเรื่องย่อว่า พระโพธิสัตว์ในกาลนั้นบังเกิดในนาคพิภพชื่อว่าจัมปา
เป็นนาคราชชื่อว่าจัมเปยยภะ มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก. นาคราชนั้นครอง
นาคราชสมบัติอยู่ในนาคพิภพนั้น เสวยอิสสริยสมบัติเช่นเดียวกับโภคสมบัติ.
ของเทวราช เพราะไม่มีโอกาสได้บำเพ็ญบารมี จึงดำริว่า ประโยชน์อะไร
ด้วยกำเนิดเดียรัจฉานนี้. เราจักเข้าอยู่ประจำอุโบสถ พ้นจากนี้แล้ว จัก
บำเพ็ญบารมีให้ดีทีเดียว ตั้งแต่นั้นมาก็รักษาอุโบสถในปราสาทของตนนั่น
เอง. นางนาคมาณวิกาแต่งตัวแล้วมาหาพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ดำริว่า
อยู่ที่ปราสาทนี้จักเป็นอันตรายแก่ศีลของเรา จึงออกจากปราสาทไปอยู่ใน
สวน. แม้ในสวนนั้นพวกนางนาคมาณวิกาก็มาหาอีก. พระโพธิสัตว์ดำริว่า
ในสวนนี้ ศีลของเราก็จักเศร้าหมอง เราจักออกจากนาคพิภพนี้ไปยังมนุษย์
โลก แล้วอยู่จำอุโบสถ. ตั้งแต่นั้นมาพระโพธิสัตว์ก็ออกจากนาคพิภพในวัน
อุโบสถ สละร่างกายให้เป็นทานโดยอธิษฐานว่า ผู้ต้องการหนังเป็นต้นของ